top of page
Search
tutlisa7

เลือกใช้กราฟอย่างไร ให้เหมาะกับงานของเรา

Updated: Apr 26, 2024

ในปัจจุบันมีการทำงานที่ต้องเกี่ยวกับการเก็บ Data หรือ ข้อมูล ต่างๆมากมาย โดยเฉพาะข้อมูลตัวเลขที่จำเป็นต่อการวางแผน การวางกลยุทธ์ หรือการตัดสินใจ ซึ่งบางครั้งปริมาณข้อมูลที่มีจำนวนมากและค่อนข้างซับซ้อน ก็อาจจะก่อให้เกิดความสับสนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องหรือต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น


ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่ง่ายที่สุดและได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมในการนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ก็คือ การทำ Data Visualization ในรูปแบบ Graphs หรือ Charts แต่ด้วยความที่ลักษณะและประเภทของกราฟนั้นมีอยู่เยอะมาก หลายๆคนอาจจะสับสนว่างานแบบนี้ต้องใช้กราฟประเภทไหน วันนี้เรามีกราฟพื้นฐาน 3 ประเภทที่มีลักษณะต่างกันออกไปมาแนะนำทุกคน


1. 𝐁𝐚𝐫 𝐂𝐡𝐚𝐫𝐭 / 𝐂𝐨𝐥𝐮𝐦𝐧 𝐂𝐡𝐚𝐫𝐭 หรือ กราฟแท่ง

เมื่อเราอยากเรียง Categorical Data ที่ไม่มีลำดับให้เห็นจากมากไปน้อย การใช้ 𝐁𝐚𝐫 𝐂𝐡𝐚𝐫𝐭 แนวนอนถือว่าเหมาะสมที่สุด และสามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลได้มากกว่า 1 ประเด็นอีกด้วย ตัวอย่างของงานที่จะใช้กราฟแท่ง ได้แก่


- กราฟเปรียบเทียบยอดขายรายเดือนของสินค้าในแต่ละกลุ่ม ถ้าเป็นโรงแรม เรามักจะเห็นการเปรียบเทียบ Revenue และ Room Nights หรือแม้แต่ occupancy รายเดือน


- กราฟเปรียบเทียบจำนวนประชากร แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


- กราฟยอดขายของแต่ละแผนกในองค์กรโดยแสดงผลเป็นแต่ละไตรมาส หรืออาจจะเป็นยอดของแต่ละ distribution channels ที่แสดงที่มาของรายได้โรงแรม


2. 𝐋𝐢𝐧𝐞 𝐂𝐡𝐚𝐫𝐭 หรือ กราฟเส้น

เมื่อข้อมูลของเราเป็นลำดับต่อๆกัน ให้เราลองลากเส้นเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลแต่ละจุดดู แต่ต้องระวังข้อมูลถูก 𝐀𝐠𝐠𝐫𝐞𝐠𝐚𝐭𝐞 หรือรวมมา โดยกราฟลักษณะนี้เหมาะอย่างมากสำหรับการแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของข้อมูล หรือการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทั้งหมดในช่วงเวลาต่างๆ ตัวอย่างของงานที่จะใช้กราฟเส้น ได้แก่


- กราฟแสดงราคาหุ้นในแต่ละชั่วโมง แต่ละวัน และแต่ละเดือน


- กราฟแสดงผลการดำเนินงาน ยอดขาย กำไรของแผนกเซลล์ในแต่ละไตรมาส


- กราฟแสดงยอดขายรายเดือนของบริษัทฯ ให้ใส่สัญลักษณ์ที่จุดข้อมูลเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดด้วย


- สำหรับโรงแรม เรามักจะเห็นการใช้กราฟเส้น สำหรับดูแนวโน้ม ADR เปรียบเทียบกับตลาด หรือ CompSet


3. 𝐏𝐢𝐞 𝐂𝐡𝐚𝐫𝐭 หรือ กราฟวงกลม

เป็นการนำเสนอเพื่อเปรียบเทียบปริมาณของข้อมูล ซึ่งพื้นที่ในวงกลมแทนปริมาณของข้อมูลต่างๆ จะนิยมแสดงผลในรูปของร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ (%) และใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆ กับจำนวนทั้งหมด หรือเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆด้วยกันเอง แต่มีข้อแนะนำคือ “พยายาม” อย่าให้จำนวนของ Pie เกิน 5 ชิ้น เพราะจะทำให้ข้อมูลดูสับสนและเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะดูเข้าใจได้ยาก ตัวอย่างของงานที่จะใชกราฟวงกลม ได้แก่


- กราฟแสดง Market Share ของบริษัท เทียบกับตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน


- กราฟแสดงสัดส่วนยอดขายของกลุ่มสินค้าในบริษัท แยกตามแบรนด์ สำหรับ โรงแรมอาจจะเป็นการแยกตาม room types ต่างๆ หรือ จะเป็นการแสดงสัดส่วน segment ต่างๆก็ได้เช่นเดียวกัน


นี่คือ 3 กราฟพื้นฐานที่เราเลือกมาแล้วว่าครอบคลุมการทำงานในทุกรูปแบบ แต่ในปัจจุบันนี้ยังมีกราฟอีกมากมายที่อาจจะตรงกับงานของเราอย่างชัดเจน ซึ่งทางเพจของเราจะมาแนะนำทุกคนอีกในโพสต์ต่อๆไปอย่างแน่นอน






66 views0 comments

Comments


bottom of page