เทรนด์ใหม่ของปี 2024 โดยศาสตราจารย์ Bob Sutton แห่ง Stanford University School ได้กล่าวไว้ในนิตยสารของ New York Times
เชื่อว่าหลายๆคนคงจะงงกับคำว่า Slow หรือการที่ให้ลดความเร็วลง โดยเฉพาะในด้านการทำงาน เพราะในทุกวันนี้การแข่งขันในแต่ละที่นั้นสูงมากไม่ว่าจะทั้งในหรือนอกองค์กร เรามักจะคุ้นชินกับการให้ความสำคัญกับทั้ง “ความเร็วและคุณภาพ” แต่ในปีนี้ “ความเชื่องช้าเชิงกลยุทธ์” หรือ “𝐒𝐭𝐫𝐚𝐭𝐞𝐠𝐢𝐜 𝐒𝐥𝐨𝐰𝐧𝐞𝐬𝐬” กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่คนเริ่มมีคนสนใจกันมากขึ้น วันนี้เรามี 4 สถานการณ์หลักๆที่ควรจะคิดและตัดสินใจให้ช้าลงหน่อย มานำเสนอแฟนเพจ
1. เมื่อต้องตัดสินใจครั้งใหญ่ (ที่ไม่สามารถย้อนกลับได้)
ลองคิดภาพดูว่าเรามีประตูอยู่ 2 บานตรงหน้า ประตูบานแรกเป็นประตูที่ถ้าเราเลือกที่จะเปิดไปแล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เราจะทำได้แค่เดินหน้าต่อไปถึงแม้ว่าที่นั้นจะไม่ใช่ที่ๆเราต้องการ และประตูบานที่สอง เป็นประตูบานที่หากเราเปิดไปแล้วเรารู้สึกว่าไม่ใช่ที่ๆเราต้องการ เราสามารถกลับมาอยู่ที่จุดเดิมได้ แต่เราจะไม่สามารถเปลี่ยนไปประตูบานอื่นได้อีกเลย การคิดไต่ตรองให้ดี ค่อยๆคิด สืบค้นข้อมูลที่เป็นไปได้เพื่อประกอบการตัดสินใจ ใช้ตรรกะ และใช้เวลากับมันให้มากที่สุด จะทำให้เราเจอทางออกที่ดีที่สุดและเลือกได้อย่างถูกต้อง
2. เมื่อต้องแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
คนที่มี IQ สูงมักจะสามารถแก้ปัญหาพวก easy tasks ได้อย่างรวดเร็วกว่า difficult problems แต่ถึงแม้จะแก้ปัญหายากๆได้ช้าแต่สิ่งที่จะได้กลับมาแน่นอนคือความแม่นยำที่มากกว่า เพราะพวกเขาใช้เวลาในการตัดสินใจมากขึ้น นานขึ้น และพยายามมองหาทางออกที่จะเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยที่สุด
3. เมื่อต้องทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์
Bob Sutton ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีทางลัดไปสู่ความคิดสร้างสรรค์” เพราะฉะนั้นถ้าหากเราต้องการที่จะดึงเอาทักษะความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ เราก็ต้องให้เวลากับมัน ถ้าเรายิ่งเร่งสมองเราก็จะยิ่งตันจนสุดท้ายงานที่ออกมาก็จะไม่ใช่งานที่มีประสิทธิภาพที่สุด
4. เมื่อต้องการลดความขัดแย้ง
โดยเฉพาะความขัดแย้งในทีมกันเอง ลองการใช้เทคนิค Pause, Think, and Jump เพื่อการลดปัญหานี้ดู เช่นเมื่อมีการไม่เข้าใจกันในทีม ให้ลองหยุดจากการประชุมก่อน จากนั้นให้ลองคิดในมุมมองของกันและกัน และพอได้บทสรุปค่อยลงมือทำ นอกจากจะลดการขัดแย้งในทีมแล้ว ยังให้เวลากับแต่ละคนในการคิดวิเคราะห์ใตร่ตรองในมุมมองต่างๆ ช่วยให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
นี่เป็นแค่ 4 ตัวอย่างสถานการณืหลักๆที่ในบทความนี้เลือกมาพุดถึง แต่ในความจริงแล้วยังมีอีกหลากหลายสถานการร์ที่จะเกิดขึ้น บางทีการที่เราทำงานเสร็จคนแรกไม่ได้แปลว่ามันจะถูกต้องและดีที่สุดเสมอไป ถ้าผิดพลาดขึ้นมาก็ต้องไปแก้ใหม่อีกอยู่ดี กลับกันคนที่ค่อยๆทำค่อยๆคิดแต่งานออกมาชัวร์นั่นย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน
Revenue Management Strategy ก็เช่นเดียวกันที่ต้องอาศัยเวลาในการคิดวิเคราะห์ ทำโจทย์หลายๆโจทย์ หลายทางเลือก หลาย projections เพื่อเลือกผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อย่างที่ Abraham Lincoln เคยกล่าวไว้ว่า Give me six hours to chop down a tree and I will spend the first four sharpening the axe. เพราะถ้าเรา executed กลยุทธ์ที่ไม่ถูกต้องลงไปแล้ว จำเป็นต้องใช้เวลานานมากกว่าในการปรับเปลี่ยน ฟื้นคืนให้กลับมาที่เดิม อย่าว่าแต่เพิ่มเติมให้ดีขึ้นเลย
เลยอยากทิ้งทายไว้ว่า บางอย่างเราก็ต้องเลือกทางที่ช้าแต่ชัวร์ บางที การนิ่งเฉย ปล่อยให้เวลาทำหน้าที่ของมัน ก็เป็น กลยุทธ์ที่ดีในบางครั้ง บางกรณี
Commentaires