AQ หรือ Adversity Quotient หมายถึง ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา และการเอาชนะความยากลำบาก ที่บ่งบอกได้ว่าคนที่มี AQ มากจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ เมื่อเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรค ดังนั้น AQ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจจะมากกว่าการมีแค่ EQ หรือ IQ ด้วยซ้ำ
วันนี้เรามี “See it, Own it, Solve it and Do it” 4 ขั้นตอนในการพัฒนา AQ มาฝากทุกคนกัน
See it - มองเห็นปัญหา
หลายครั้งที่เรามองว่าปัญหาไม่สำคัญหรือไม่จำเป็นต้องแก้ทันที แต่การพัฒนา AQ ต้องเริ่มจาก การมี Self-Awareness และการฟังมุมมองของคนอื่นๆ เพื่อให้เราสามารถเห็นปัญหาจากทุกด้าน การเปิดใจรับฟังคำแนะนำจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงปัญหาอย่างแท้จริง
Own it - รับเป็นเจ้าของปัญหา
การรับเป็นเจ้าของปัญหาหมายถึงเราพร้อมเผชิญกับปัญหา เราเลือกแล้วว่าจะรับผิดชอบต่อเรื่องนี้จนจบ การเป็นเจ้าของปัญหาทำให้เราเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาและหาวิธีการที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จ
Solve it - แก้ไขปัญหา
หลังจากที่เรารับเป็นเจ้าของปัญหาแล้ว ขั้นต่อไปคือ ลงมือแก้ไข ซึ่งไม่จำเป็นว่าคุณต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง สร้างวัฒนธรรมการแก้ปัญหาในทีม (Solve It Culture) เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดและช่วยกันแก้ไข จะทำให้ทีมพัฒนาไปพร้อมกัน
Do it - ลงมือทำ
ขั้นตอนสุดท้ายคือ การลงมือทำ ซึ่งเป็นส่วนที่ท้าทายที่สุด แน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นต้องทำคนเดียว สามารถแบ่งงานให้คนในทีมทำหน้าที่ของตัวเองได้ การให้ทุกคนมีส่วนร่วมจะสร้างความเป็นทีมและความสามัคคีมากขึ้น
หากถามถึงความแตกต่างระหว่าง IQ, EQ, และ AQ
IQ - ความคิด การแก้ไขปัญหาโดยใช้สติปัญญา
EQ - เรื่องของอารมณ์ การเข้าใจและจัดการอารมณ์ตนเองและผู้อื่น
AQ - การรับมือกับอุปสรรคและความท้าทาย
ทักษะทั้ง 3 นี้เป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน คนที่ประสบความสำเร็จมักจะมีทั้ง IQ สูงในการวิเคราะห์ปัญหา, EQ สูงในการเข้าใจผู้อื่น, และ AQ สูงในการเผชิญกับความท้าทาย
Comments