ในบางครั้งเมื่อเราอยากเริ่มต้นโปรเจกต์ใหม่ๆ หรือปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ แต่กลับได้รับการตอบรับที่ไม่ดี นั่นอาจไม่ได้หมายความว่าทีมไม่ชอบความคิดของเรา แต่อาจเป็นเพราะพวกเขายังไม่เข้าใจในแผนการและที่มาที่ไปของเรา เพราะฉะนั้นการใช้ Storytelling จึงเป็นตัวช่วยสำคัญ
และนี่คือ 5 เทคนิคการสร้าง ‘Storytelling’ ในแบบของผู้นำ
1. ทำความเข้าใจกับผู้ฟัง
เข้าใจสิ่งที่พวกเขาสนใจและกังวล ลองเริ่มต้นด้วยการพูดแบบไม่เป็นทางการเพื่อดึงความสนใจของพวกเขา แล้วค่อยๆ แทรกเรื่องราวที่จะเชื่อมโยงกับความกังวลของพวกเขา การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้พวกเขาเลือกฟังเราอย่างตั้งใจ
2. สร้างบริบทที่ชัดเจน
อธิบายให้ชัดเจนว่าทำไมถึงต้องทำสิ่งนี้ ผู้นำที่ดีควรเชื่อมโยงสิ่งที่พูดกับเป้าหมายใหญ่ขององค์กร เพื่อให้ทีมเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงหรือโปรเจกต์นี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถและความสำเร็จได้อย่างไร
3. ทำให้เรื่องเล่ามีความเป็นมนุษย์
แชร์ประสบการณ์ทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จ สิ่งนี้ช่วยให้ผู้ฟังเปิดใจมากขึ้น เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่าเราเป็นคนธรรมดาเช่นเดียวกัน การเล่าเรื่องที่มีทั้งด้านบวกและลบจะสร้างความเชื่อมโยงกับผู้ฟังได้ดีขึ้น
4. ให้แนวทางที่ชัดเจน
คำแนะนำที่ตรงไปตรงมาและการติดตามความคืบหน้าสร้างความมั่นใจให้กับทีม การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถทำได้จริง จะทำให้คนฟังรู้สึกมั่นใจและนำไปปรับใช้ได้จริง นอกจากนี้การติดตามความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอจะเพิ่มความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
5. Stay Humble
แม้ว่าเราจะเป็นผู้นำที่มีประสบการณ์มากแค่ไหน การอ่อนน้อมถ่อมตนก็เป็นสิ่งสำคัญเสมอ เพราะมันจะสร้างความไว้วางใจและเคารพจากทีมการแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จนั้นต้องการ teamwork จะทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมมากขึ้น
สิ่งที่ต้องจำไว้
หากเราเล่าเรื่องได้ดี ผู้ฟังก็จะได้รับแรงบันดาลใจและเชื่อมั่นในตัวเรา แต่ถ้าผู้ฟังฟังแล้วไม่เข้าใจหรือไม่โดนใจ การเล่าเรื่องครั้งนี้อาจทำให้ความน่าเชื่อถือของเราลดลงได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจในกลุ่มผู้ฟังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
Comments